การวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย

การวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย


p หมายถึง งานวิจัยของหน่วยงาน สถาบันการศึกษา ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย
p แบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการแบ่ง เช่น แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย

ประเภทการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย
p สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (2535) แบ่งประเภทของงานวิจัยระดับก่อนประถมศึกษา ไว้ 3 ประเภท ดังนี้
n งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร การบริหารและการนิเทศการศึกษา
n งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา
n งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองและการพัฒนาเด็ก

p วาโร เพ็งสวัสดิ์ แบ่งประเภทการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัยโดยใช้เนื้อหาสาระในการวิจัยเป็นเกณฑ์ ไว้ 11 ประเภท ดังนี้
n 1) การวิจัยเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
n 2) การวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการและความพร้อม
n 3) การวิจัยเกี่ยวกับผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมต่างๆ
n 4) การวิจัยเกี่ยวกับผลของการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
n 5) การวิจัยเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือวัดผลและประเมินผล
n 6) การวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย
n 7) การวิจัยเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่และคุณลักษณะของครูปฐมวัย
n 8) การวิจัยที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์
n 9) การวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
n 10) การวิจัยเกี่ยวกับสภาพและปัญหาทางการศึกษาปฐมวัย
n 11) การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย

p กุลยา ตันติผลาชีวะ (2543) จำแนกประเด็นวิจัยทางการศึกษาปฐมวัยไว้ 7 กลุ่ม ดังนี้
n 1) การจัดการศึกษา : หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน มาตรฐานการศึกษา การจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก สื่อการสอน การประเมินผล การพัฒนาหนังสือสำหรับเด็ก
n 2) การบริหารสถาบันพัฒนาเด็กปฐมวัย : การจัดรูปแบบสถานเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กระบวนการบริหาร การพัฒนาบุคลากรปฐมวัย การประสานงานครู ผู้ปกครอง และชุมชน การสร้างเสริมประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร เป็นต้น
n 3) การพัฒนาวิชาชีพครู : การมีใบประกอบวิชาชีพครู กฎหมายวิชาชีพ องค์กรวิชาชีพ และบทบาทของวิชาชีพการศึกษาปฐมวัยต่อสังคม
n 4) ศาสตร์ทางการศึกษาปฐมวัย : การพัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษาปฐมวัย             การพัฒนาทฤษฎี การทดสอบทฤษฎีทางการศึกษาปฐมวัย รูปแบบพัฒนาการของเด็กไทย วิถีเด็กไทย เป็นต้น
n 5) ผู้ปกครองศึกษา : วิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ปกครอง การเลี้ยงดู การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกับการศึกษา การให้การศึกษาสำหรับผู้ปกครอง
n 6) การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ : การเรียนร่วมกับเด็กปกติ เด็กต่างวัฒนธรรม เด็กต่างภาษา รวมทั้งเด็กด้อยโอกาสและชนกลุ่มน้อย
n 7) การศึกษาปฐมวัยกับสังคม : ความต้องการของสังคมด้านการศึกษาปฐมวัย           การให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับโรงเรียนอนุบาล บทบาทของชุมชนด้านการการศึกษาปฐมวัย การศึกษาปฐมวัยภายใต้การนำของอบต. เป็นต้น